เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 4. วิเวกกถา 1. มัคคังคนิทเทส
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรค
มีองค์ 8 ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลายอย่างนี้แล

1. มัคคังคนิทเทส
แสดงองค์แห่งมรรค
[24] สัมมาทิฏฐิมีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีโวสสัคคะ 5 มีนิสสัย 121
สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ
สัมมาวาจา ฯลฯ
สัมมากัมมันตะ ฯลฯ
สัมมาอาชีวะ ฯลฯ
สัมมาวายามะ ฯลฯ
สัมมาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีโวสสัคคะ 5 มีนิสสัย 12
สัมมาทิฏฐิมีวิเวก 5 อะไรบ้าง คือ
1. วิกขัมภนวิเวก (สงัดด้วยข่มไว้)
2. ตทังควิเวก (สงัดด้วยองค์นั้น ๆ)
3. สมุจเฉทวิเวก (สงัดด้วยตัดขาด)
4. ปฏิปัสสัทธิวิเวก (สงัดด้วยสงบระงับ)
5. นิสสรณวิเวก (สงัดด้วยสลัดออกได้)
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของภิกษุ
ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะแห่งผลและ

เชิงอรรถ :
1 นิสสัย 12 ได้แก่ ในวิเวกมีนิสสัย 3 วิราคะมีนิสสัย 3 นิโรธมินิสสัย 3 โวสสัคคะมีนิสสัย 3 (3 คูณ 4
เป็น 12) (ขุ.ป.อ. 2/24/358-359)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :579 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 4. วิเวกกถา 1. มัคคังคนิทเทส
นิสสรณวิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีวิเวก 5 นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ
น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่น1ด้วยดีในวิเวก 5 นี้
สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ 5 อะไรบ้าง คือ
1. วิกขัมภนวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยข่มไว้)
2. ตทังควิราคะ (คลายกำหนัดด้วยองค์นั้น ๆ)
3. สมุจเฉทวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยตัดขาด)
4. ปฏิปัสสัทธิวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยสงบระงับ)
5. นิสสรณวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยสลัดออกได้)
วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิราคะในการละทิฏฐิด้วย
องค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิราคะ
ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิราคะในขณะแห่งผล
และนิสสรณวิราคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ 5 นี้ ภิกษุเกิด
ฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ 5 นี้
สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ 5 อะไรบ้าง คือ
1. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้)
2. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้น ๆ)
3. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด)
4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ)
5. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้)
นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน นิโรธในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทนิโรธของภิกษุ
ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะแห่งผลและนิสสรณ-
นิโรธที่เป็นความดับคืออมตธาตุ สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ 5 นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป
ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในนิโรธ 5 นี้

เชิงอรรถ :
1 ฉันทะ ศรัทธา และจิต ในที่นี้ชื่อว่า นิสสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :580 }